NSTDA Supercomputer Center
ประกาศผลข้อเสนอโครงการ ThaiSC Pioneer Program
ThaiSC ขอประกาศผลการข้อเสนอโครงการวิจัยที่ผ่านการคัดเลือกจำนวน 10 โครงการนำร่องเพื่อใช้ LANTA Supercomputer
ThaiSC Pioneer Program มีเป้าหมายในการสนับสนุนการใช้โครงสร้างพื้นฐานด้านการคำนวณเพื่อยกระดับขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของงานวิจัยในประเทศไทย โดยเน้นโครงการที่ใช้เทคนิคคำนวณเป็นหลัก มีการใช้ระเบียบวิธี (methodology) และเป็นเทคนิคที่มีความเหมาะสมกับรูปแบบสถาปัตยกรรมของระบบ LANTA รวมถึงให้ความสำคัญกับโครงการด้านการคำนวณที่ต้องการใช้ทรัพยากรในการคำนวณจำนวนมาก ซึ่งเกินขีดความสามารถของระบบคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงขนาดเล็กหรือขนาดกลางที่มีอยู่เดิมในประเทศไทย
วัตถุประสงค์
ThaiSC Pioneer Program แบ่งรูปแบบโครงการที่สนับสนุนออกเป็น 3 ด้าน ดังนี้
จากการเปิดรับข้อเสนอโครงการตั้งแต่วันที่ 1-28 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมาได้มี นักวิจัย อาจารย์ ทุกภาคส่วนให้ความสนใจยื่นข้อเสนอโครงการมาเป็นจำนวนมาก ทางคณะกรรมการพิจารณาโครงการได้คัดเลือกอย่างละเอียดถี่ถ้วนในทุกประเด็น และได้พิจารณาคัดเลือก 10 โครงการวิจัยเป็นที่เรียบร้อย ThaiSC ขอแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับทุนทุกท่านและขอขอบคุณผู้ส่งข้อเสนอโครงการทุกท่าน มา ณ ที่นี้
ชื่อโครงการวิจัย
แพลตฟอร์มเทคโนโลยีใหม่โดยใช้ Graph neural network ในการค้นหาและพัฒนายา
A graph neural network-based prediction platform in drug discovery and development
หัวข้อของโครงการวิจัย
งานวิจัยแนวหน้า (Frontier Science)
ลักษณะงานวิจัย
Machine Learning / Deep Learning / AI
หัวหน้าโครงการ
รองศาสตราจารย์ ดร. ธัญญดา รุ่งโรจน์มงคล
หน่วยงาน/สังกัด
Chulalongkorn University
ชื่อโครงการวิจัย
การศึกษาออกแบบตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิลสำหรับการสลายพันธะคาร์บอนไฮโดรเจนและปฏิกิริยาการเติมไฮโดรเจนและหมู่
แอริลให้กับแอลคีน
Computational design of nickel catalysts for C-H activation and hydroarylation of alkenes
หัวข้อของโครงการวิจัย
งานวิจัยแนวหน้า (Frontier Science)
ลักษณะงานวิจัย
Computational Chemistry
หัวหน้าโครงการ
รองศาสตราจารย์ ดร. พนิดา สุรวัฒนาวงศ์
หน่วยงาน/สังกัด
Mahidol University
ชื่อโครงการวิจัย
การพัฒนาประสิทธิภาพของวัสดุอิเล็กโทรดสำหรับแบตเตอรี่ชนิดประจุไฟฟ้าใหม่ได้โดยการจำลองแบบเฟิร์สต์พรินซิเพิ่ล
(Development of electrode materials for rechargeable batteries through first-principles modelling)
หัวข้อของโครงการวิจัย
งานวิจัยแนวหน้า (Frontier Science)
ลักษณะงานวิจัย
Computational Material Science
หัวหน้าโครงการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุวิทย์ สุธีรากุล
หน่วยงาน/สังกัด
Suranaree University of Technology
ชื่อโครงการวิจัย
การออกแบบตัวเร่งปฏิกิริยาสามทางจากโลหะผสมเอนโทรปีสูงสำหรับกระบวนการบำบัดมลพิษทางอากาศจากโรงไฟฟ้า
High-entropy-alloy-based three-way catalyst design for harmful gases treatment from powerplant
หัวข้อของโครงการวิจัย
งานวิจัยแนวหน้า (Frontier Science)
ลักษณะงานวิจัย
Computational Chemistry
หัวหน้าโครงการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศุภฤกษ์ ประเสริฐธรรม
หน่วยงาน/สังกัด
Chulalongkorn University
ชื่อโครงการวิจัย
นักจิตวิทยา AI เพื่อการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิต
AI Psychologist for Mental Health Counseling
หัวข้อของโครงการวิจัย
Large-Scale AI Research
ลักษณะงานวิจัย
Machine Learning / Deep Learning / AI
หัวหน้าโครงการ
ดร. วินน์ วรวุฒิคุณชัย
หน่วยงาน/สังกัด
BOTNOI
ชื่อโครงการวิจัย
ปัญญาประดิษฐ์แบบใหม่ ด้วยข้อมูลหนึ่งในสิบ
Artificial Intelligence with 1/10 the data: Few-shot Learning via Generative Models
หัวข้อของโครงการวิจัย
Large-Scale AI Research
ลักษณะงานวิจัย
HPC and Computer Science
หัวหน้าโครงการ
ดร. ศุภศรณ์ สุวจนกรณ์
หน่วยงาน/สังกัด
VISTEC
ชื่อโครงการวิจัย
การฝึกฝนโมเดลประมวลผลภาษาขนาดใหญ่สำหรับการทำความเข้าใจและการเขียนภาษาไทย
Pre-training Language Models for Thai Language Understanding and Generation at Scale
หัวข้อของโครงการวิจัย
Large-Scale AI Research
ลักษณะงานวิจัย
Machine Learning / Deep Learning / AI
หัวหน้าโครงการ
รองศาสตราจารย์ ดร. สรณะ นุชอนงค์
หน่วยงาน/สังกัด
VISTEC
ชื่อโครงการวิจัย
การพัฒนาแบบจำลองพรีเทรนแบบพหุวิถีสำหรับการประมวลผลข้อมูลมัลติมีเดียขนาดใหญ่
The Development of Multimodal Pretrained Models for Large-Scaled Multimedia Data Processing
หัวข้อของโครงการวิจัย
Large-Scale AI Research
ลักษณะงานวิจัย
Machine Learning / Deep Learning / AI
หัวหน้าโครงการ
ดร. เทพชัย ทรัพย์นิธิ
หน่วยงาน/สังกัด
NECTEC
การศึกษาคุณสมบัติของตัวบ่งชี้ และการวิเคราะห์กลุ่มโรค Non-communicable diseases (NCDs) เพื่อการพัฒนาชุดตรวจแบบพกพาในการตรวจคัดกรองและติดตามโรคดังกล่าวด้วยระเบียบวิธีคอมพิวเตอร์
Computational study of Non-communicable diseases (NCDs) biomarker characteristics and detection mechanism for portable biosensor design
หัวข้อของโครงการวิจัย
Urgent & Important Issues
ลักษณะงานวิจัย
Computational Biology
หัวหน้าโครงการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประภาศิริ พงษ์ประยูร
หน่วยงาน/สังกัด
Kasetsart University
ชื่อโครงการวิจัย
การลดขนาดข้อมูลความละเอียดสูงแบบพลวัตจากฐานข้อมูลแบบจำลองสภาพภูมิอากาศโลก CMIP6 ด้วยแบบจำลอง WRF
High Resolution Dynamical Downscaling of CMIP6 Global Climate Models using WRF model
หัวข้อของโครงการวิจัย
Urgent & Important Issues
ลักษณะงานวิจัย
Climate, Weather, and Ocean (CWO)
หัวหน้าโครงการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศรีสุนี วุฒิวงศ์โยธิน
หน่วยงาน/สังกัด
Burapha University
ThaiSC ขอแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับทุนทุกท่านและขอขอบคุณผู้ส่งข้อเสนอโครงการทุกท่าน มา ณ ที่นี้
ศูนย์ทรัพยากรคอมพิวเตอร์เพื่อการคำนวณขั้นสูง (NSTDA Supercomputer Center:
ThaiSC) เป็นหนึ่งในหน่วยงาน National S&T Infrastructure ของ สวทช. เพื่อสร้างโครง
สร้างพื้นฐานสนับสนุนการพัฒนาด้าน
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่
สำคัญของประเทศ โดยศูนย์ทรัพยากรคอมพิวเตอร์เพื่อการคำนวณขั้นสูงมุ่งเน้นการให้
บริการระบบคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง
(High Performance Computing: HPC) แก่
งานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์เพื่อการคำนวณ
(Computational Science)
ที่อยู่: ทีม ThaiSC, ห้อง INC2A 301
144 อาคารกลุ่มนวัตกรรม 2 (INC2)
อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง
อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
12120
โทร: 0-2564-6900
อีเมล์: thaisc@nstda.or.th