NSTDA Supercomputer Center
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ นำโดย ศูนย์ทรัพยากรคอมพิวเตอร์เพื่อการคำนวณขั้นสูง (ThaiSC) ร่วมจัดงาน EU-ASEAN HPC School 2022 เพื่อช่วยในการพัฒนาทักษะและศักยภาพการเติบโตทางด้าน HPC และการประยุกต์ใช้กับปัญหาที่มีความสำคัญทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ อาทิ ปัญหา COVID-19 และการป้องกันภัยธรรมชาติ เป็นต้น ทั้งนี้ การจัด EU-ASEAN HPC School 2022 ได้รับความเห็นชอบในที่ประชุมความร่วมมือ ASEAN HPC Task force และ ASEAN Committee on Science, Technology, and Innovation ภายใต้การสนับสนุนจากสหภาพยุโรปผ่านกลไกของ Enhanced Regional EU-ASEAN Dialogue Instrument (E-READI) read more
ThaiSC เปิดบ้านต้อนรับ Prof. Jack Dongarra เจ้าของรางวัล ACM Turing Award
.
8 ธันวาคม 2565 ศูนย์ทรัพยากรคอมพิวเตอร์เพื่อการคำนวณขั้นสูง (ThaiSC) โดย ดร.ปิยวุฒิ ศรีชัยกุล ผู้อำนวยการ ThaiSC พร้อม ดร.มนัสชัย คุณาเศรษฐ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) พร้อมด้วยทีมงาน
.
ร่วมให้การต้อนรับ Prof. Jack Dongarra เจ้าของรางวัล ACM Turing Award (Nobel Prize of Computer Science) และ Dr.Tan Tin Wee จาก NSCC Singapore
.
เยี่ยมชม LANTA Supercomputer ซึ่งเป็นเครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ประสิทธิภาพสูงสุดอันดับ 70 ของโลก หรือนับเป็นอันดับหนึ่งในอาเซียน และร่วมหารือแนวทางการพัฒนาแผนงานเกี่ยวกับโครงการที่ใช้งาน HPC และได้ศึกษาดูงานระบบ Green Data Center ณ ศูนย์ทรัพยากรคอมพิวเตอร์เพื่อการคำนวณขั้นสูง
.
ผลงานเด่น ๆ และเป็นที่รู้จักของ Prof. Jack Dongarra คือการพัฒนา Benchmark Linpack ที่ใช้ทดสอบการคำนวณด้าน Linear Algebra เพื่อใช้ในการวัดประสิทธิภาพ Supercomputer และนำมาจัดอันดับเครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุด 500 เครื่องของโลกในแต่ละปี (top500.org)
.
นอกจากนี้ Prof. Jack Dongarra ยังมีผลงานในการพัฒนา Technology ด้าน HPC อีกมากมาย เช่น การพัฒนา Library ที่เป็นรากฐานของงานคำนวณทั้งเคมี ฟิสิกส์ ไปจนถึงการพัฒนา MPI ที่ยอมรับกันว่าเป็นมาตรฐานกลางที่ HPC และ Supercomputer ใช้ในการให้โปรแกรมสื่อสารและทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่นอีกด้วย read more
ThaiSC ขอแสดงความยินดีกับ ทีมนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง ที่คว้ารางวัล “Best HPC Performance” ในการแข่งขันประมวลผลคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง “The 5th APAC HPC-AI Competition (2022)” พร้อมครองถ้วยรางวัลที่ 3 เป็นสมัยที่สอง
.
ทีมนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง ภายใต้การดูแลควบคุมทีมโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรวรรณ ดีอัซ การ์บาโย สามารถคว้าถ้วยรางวัลชนะเลิศลำดับที่สาม (Third Place) ได้ต่อเนื่องเป็นปีที่สอง จากการแข่งขัน The 4th APAC HPC-AI Competition ในปี 2564 และ The 5th APAC HPC-AI Competition ในปี 2565 นอกจากคว้ารางวัลระดับ 3 แล้ว ทางทีมนักศึกษาฯ ยังได้รางวัล “Best HPC performance” ซึ่งเป็นรางวัลสำหรับผลงานที่คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญด้าน HPC ยอมรับว่ารวดเร็วที่สุดในการเร่งความเร็วของ HPC Task จากการแข่งขัน The 5th APAC HPC-AI Competition ที่มีผู้เข้าแข่งขันกว่า 100 คน จากสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัย 20 แห่ง จาก 12 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและออสเตรเลีย แสดงให้เห็นถึงศักยภาพด้าน HPC ที่โดดเด่นของเยาวชนไทยในเวทีนานาชาติ read more
ขอแสดงความยินดีกับ ดร.มนัสชัย คุณาเศรษฐ รับรางวัลเทคโนโลยีรุ่นใหม่ประจำปี พ.ศ.2565
ณ ดิ แอทธินี โฮเต็ล : (19 ต.ค. 2565) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช. ได้รับรางวัลเทคโนโลยีดีเด่นประจำปี พ.ศ.2565 และรางวัลเทคโนโลยีรุ่นใหม่ประจำปี พ.ศ.2565 โดย มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ ในฐานะผู้พิจารณาคัดเลือกผลงานและมอบรางวัล ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยในปี 2565 มีผู้ได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นและนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ประเภทละ 1 รางวัล ดังนี้ read more
เพื่อสร้างความคุ้นเคยให้แก่ผู้ใช้งานบนระบบ GPU ขนาดใหญ่อย่างต่อเนื่อง ศูนย์ทรัพยากรคอมพิวเตอร์เพื่อการคำนวณขั้นสูง (ThaiSC)
ขอแจ้งขยายเวลาสำหรับกิจกรรม Get ready for the new (GPU) normal ออกไปจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง
ค่าใช้จ่ายในการใช้งาน TARA DGX node จะลดลงโดยที่
การใช้งาน dgx-preempt ลดจาก 400 SUต่อนาที เหลือ 200 SUต่อนาที
การใช้งาน dgx ลดจาก 815 SUต่อนาที เหลือ 400 SUต่อนาที
ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ thaisc-support@nstda.or.th
ด้วยความนับถือ
ทีมThaiSC
It will then focus on an aspect of EUMaster4HPC that is particularly relevant for ETP4HPC: its strong connections with the industry.
As usual we will have a long Q&A session at the end of the webinar to allow our audience to exchange with the speakers.
.
Event date: 28 October 2022
4:00 PM – 5:00 PM
.
More information and agenda: >>
https://www.etp4hpc.eu/events/etp4hpc-webinar-eumaster4hpc-training-the-nex_619.html
For the first time ever, HPC Asia 2023 (HPCA23) will be co-located and held in conjunction with the international SupercomputingAsia 2023 (SCA23) conference. The SCA conference is co-organised by supercomputing centres of the region including those in Australia, Japan, Singapore and Thailand and anchored by the National Supercomputing Centre (NSCC) Singapore. SCA incorporates a number of important supercomputing and allied events that together aim to promote a vibrant and shared high-performance computing (HPC) ecosystem, for both the public and private sectors, in Asia. Like HPCA23, SCA23 also seeks to nurture an exchange of ideas, case studies, and research results related to all issues of HPC.
.
More details on SCFA: https://www.sc-asia.org/hpc-asia-2023/.
ThaiSC มีกิจกรรมที่น่าสนใจมาแบ่งปัน..กับสัมมนาออนไลน์ Research Software Engineer (RSE) Asia Australia Unconference. Building the Research Software Engineer community
across Asia & Australia ตั้งแต่วันที่ 14 ถึง 16 กันยายน 2565 นี้
ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง RSE Asia Association และ RSE Association of Australia and New Zealand.
ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :
For more information visit: https://rse-aunz.github.io/2022-Asia-Australia-unconference/
[ThaiSC] Call for application: EU-ASEAN High-Performance Computing (HPC) School 2022
.
The EU-ASEAN High-Performance Computing (HPC) School is a one-week program for exceptional ASEAN researchers primarily at postgraduate level.
60 selected participants from all ASEAN member states will develop their skills in fundamental HPC technology and programming to access local and international HPC platforms with proficiency experts from Japan, Europe, and ASEAN.
By attending the school, students will also gain exposure to international collaboration opportunities in an EU-ASEAN context. On the last day of the program, students will be invited to an industrial event organized by Kasetsart University to meet potential employers from across the region. read more
ThaiSC ได้รับเกียรติร่วมต้อนรับมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ ณ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2565 รองศาสตราจารย์ นายแพทย์วีระพงษ์ ภูมิรัตนประพิณ คณบดีคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะผู้บริหาร ให้การต้อนรับ Ms. Elizabeth Yee, Executive Vice President and Chief of Staff, Rockefeller Foundation และเจ้าหน้าที่จากมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ ณ ห้องประชุม 6601 ชั้น 6 สำนักงานคณบดี อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ 60 ปี คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
.
โอกาสนี้ตัวแทนจากมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ได้เยี่ยมชมศูนย์ความเป็นเลิศทางสารสนเทศศาสตร์ชีวเวชและสาธารณสุข (BIOPHICS) อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ 60 ปี คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล โดย ดร.ปิยวุฒิ ศรีชัยกุล ผู้อำนวยการศูนย์ทรัพยากรคอมพิวเตอร์เพื่อการคำนวณขั้นสูง (ThaiSC), นายอำนาจ คำศิริวัชรา ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนรรถ ชูขจร หัวหน้าหน่วยจีโนมและเวชศาสตร์วิวัฒนาการ ศูนย์การวิจัยมาลาเรีย และ Dr. Liz Batty ร่วมให้การต้อนรับและกล่าวถึงความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ read more
ศูนย์ทรัพยากรคอมพิวเตอร์เพื่อการคำนวณขั้นสูง (NSTDA Supercomputer Center:
ThaiSC) เป็นหนึ่งในหน่วยงาน National S&T Infrastructure ของ สวทช. เพื่อสร้างโครง
สร้างพื้นฐานสนับสนุนการพัฒนาด้าน
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่
สำคัญของประเทศ โดยศูนย์ทรัพยากรคอมพิวเตอร์เพื่อการคำนวณขั้นสูงมุ่งเน้นการให้
บริการระบบคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง
(High Performance Computing: HPC) แก่
งานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์เพื่อการคำนวณ
(Computational Science)
ที่อยู่: ทีม ThaiSC, ห้อง INC2A 301
144 อาคารกลุ่มนวัตกรรม 2 (INC2)
อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง
อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
12120
โทร: 0-2564-6900
อีเมล์: thaisc@nstda.or.th