NSTDA Supercomputer Center
ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวถึงข่าวการจัดอันดับซูเปอร์คอมพิวเตอร์ TOP500 ซึ่งเป็นการจัดอันดับเพื่อจัดเก็บข้อมูลเชิงสถิติของระบบซูเปอร์คอมพิวเตอร์จากทั่วโลก รวมทั้งยังถูกนำไปใช้ในการแสดงศักยภาพด้านการคำนวณอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ในการประกาศผลการจัดอันดับครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2565 นั้น ระบบซูเปอร์คอมพิวเตอร์ LANTA ของประเทศไทย ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในลำดับที่ 70 ของโลก ซึ่งเป็นอันดับที่ 20 ของเอเชีย และเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดอันดับหนึ่งในอาเซียน ด้วยประสิทธิภาพในการคำนวณ 8.1 petaFLOPS หรือ 8.1 พันล้านล้านคำสั่งต่อวินาที ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของไทยที่มีระบบประมวลผลที่ติดอยู่ใน 100 อันดับแรกของการจัดอันดับ TOP500 เป็นการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานของการวิจัยและพัฒนาที่ต้องอาศัยการคำนวณขั้นสูงของประเทศไทยให้อยู่ในระดับแนวหน้าของโลก read more
ในด้าน งานวิจัยแนวหน้า (Frontier Science)
งานวิจัยเพื่อแก้ปัญหาสำคัญและเร่งด่วน (Urgent & Important Issues)
และ งานวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์ขนาดใหญ่ (Large-Scale AI Research)
(เดิม) เปิดรับข้อเสนอผ่านระบบ Online 1-28 กุมภาพันธ์ 2565 read more
สนใจสามารถลงทะเบียนได้ที่ : www.nvidia.com/gtc/?ncid=GTC-NVPANKAEOS
NVIDIA GTC is more than a game-changing AI developer conference. It’s a global community committed to decoding the world’s greatest challenges, transforming every major industry workflow, and exploring tomorrow’s next big ideas—together. Our next NVIDIA GTC is coming up starting on March 21, 2022.
Now NVIDIA GTC 2022 – March 21st to March 24th is opening for registration.
Register here: www.nvidia.com/gtc/?ncid=GTC-NVPANKAEOS
กลับมาอีกครั้งกับงานสัมมนาออนไลน์ eHPC2021: Workshop on e-Science and High Performance Computing เรารวบรวมผลงานวิจัยที่เกิดจากการใช้งานระบบ HPCในประเทศไทย ปีนี้ภาคีโครงสร้างพื้นฐานระดับชาติด้าน e-Science ขอนำเสนอเรื่องราวทางการแพทย์ สิ่งแวดล้อม Big Data และตัวอย่างงานวิจัยที่ใช้ทรัพยากรประมวลผลอย่างคุ้มค่า….
ขอเรียนทุกท่านเชิญเข้าร่วมสัมมนาออนไลน์ eHPC2021
วันพฤหัสบดีที่23ธันวาคม2564เวลา9.00-12.00น.
รับชมทาง
Facebook Live: NECTEC NSTDAและ
WebEx URL:https://qrgo.page.link/BfKu5
=&31=&
เมื่อเชื้อไวรัสโควิด-19 เกิดการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ใหม่ สร้างความกังวลใจว่าจะเข้าไทยเมื่อไหร่ จะมีผู้ติดเชื้อสายพันธุ์นี้เพิ่มขึ้นอีกหรือไม่ การมี Supercomputer ประสิทธิภาพสูงช่วยให้อุ่นใจได้ว่า เรามีเครื่องมือที่ช่วยวิเคราะห์สายพันธุ์ไวรัสที่กำลังแพร่อยู่ในประเทศไทยได้อย่างรวดเร็ว
ในประเทศไทยได้ยืนยันการพบเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนรายแรก โดยทีมวิจัยจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมกับศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐ ด้านสาธารณสุข (Thailand MoPH-U.S.CDC Collaboration) และหน่วยชีวสารสนเทศ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทำการถอดรหัสพันธุกรรมของไวรัสด้วยวิธี Nanopore Sequencing เพื่อให้ได้ข้อมูลลำดับรหัสพันธุกรรมของไวรัส และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์แบบ real-time บน Supercomputer ของ ThaiSC เพื่อเทียบลำดับรหัสพันธุกรรมกับฐานข้อมูลของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่พบในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ด้วยประสิทธิภาพการประมวลผลของเครื่อง GPU บน Supercomputer ทำให้การวิเคราะห์รหัสพันธุกรรมของไวรัสดังกล่าวที่มีประมาณ 3 หมื่นรหัสพันธุกรรมภายในเวลา 12 ชั่วโมง
นอกจากนี้ ตั้งแต่การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในปี 2563 จนถึงปัจจุบัน ทาง ThaiSC ได้สนับสนุนทรัพยากรการคำนวณเพื่องานวิจัยด้านการถอดรหัสพันธุกรรมของเชื้อโควิด-19 ให้กับกลุ่มพันธมิตร COVID-19 Network Investigations (CONI) เพื่อใช้ในการประมวลผลหาแหล่งที่มาของเชื้อรวมถึงการติดตามการกลายพันธุ์ของไวรัส ผลของความร่วมมือนี้ช่วยให้ทีมวิจัยของ CONI สามารถเผยแพร่ผลที่ได้นี้บนฐานข้อมูลกลางระดับนานาชาติ https://gisaid.org เป็นประเทศ แรกๆ ของทวีปเอเชีย
ThaiSC มีความยินดีที่ได้ให้บริการระบบ Supercomputer เพื่อสนับสนุนการทำงานของหน่วยงานการแพทย์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 และยังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาการให้บริการระบบ Supercomputer เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานให้กับงานวิจัยและพัฒนาของประเทศในด้านอื่นๆต่อไป
“เมื่อโลกอนาคตอันไกล ใกล้กว่าที่คุณคิด มาร่วมหาคำตอบไปพร้อมกันกับกูรูผู้อยู่เบื้องหลังและขับเคลื่อนการพัฒนา AI ด้วย HPC ในประเทศไทย”
พบผู้เชี่ยวชาญด้าน AI ของไทย
เอชพีอี ผนึกศูนย์ไทยเอสซี ภายใต้สวทช. ยกระดับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) ไทย ด้วยระบบซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ประสิทธิภาพสูงสุดในอาเซียน เพื่อรองรับการวิจัยและประมวลผลข้อมูลขั้นสูง เผยผลงานล่าสุดประมวลผลข้อมูลทางพันธุกรรมของไวรัส เพื่อหาแนวทางป้องกัน และรักษาโรคโควิด หลายหน่วยงาน รวมถึงการคาดการณ์สถานการณ์ฝุ่นPM2.5 ได้ล่วงหน้า3 วัน read more
ThaiSC ขอแสดงความยินดีกับนายอภิสิทธิ์ วงค์สอน, นายนพณัฐ นามปั๋น, นางสาวสุชาดา สุริวงค์, นางสาวสุชานันท์ ใจมุข, นายศุภเกียรติ์ ไหวพินิจ และนางสาวศิริภัสสร ขวัญจิตร์ ทีมนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง read more
SupercomputingAsia 2022 (SCA22)
is an annual international conference that encompasses an umbrella of notable supercomputing events with the key objective of promoting a vibrant and relevant HPC ecosystem in Asia. Co-organised by HPC centres from Australia, Japan, and Singapore, the SCA22 will be held from 01 to 03 March 2022 as a hybrid conference at Suntec Singapore Convention & Exhibition Centre. read more
รู้ลึก รู้จริง ตอบตรงทุกประเด็นกับผู้เชี่ยวชาญด้านชีวสารสนเทศเมืองไทย
พบกับวิทยากร
ศูนย์ทรัพยากรคอมพิวเตอร์เพื่อการคำนวณขั้นสูง (NSTDA Supercomputer Center:
ThaiSC) เป็นหนึ่งในหน่วยงาน National S&T Infrastructure ของ สวทช. เพื่อสร้างโครง
สร้างพื้นฐานสนับสนุนการพัฒนาด้าน
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่
สำคัญของประเทศ โดยศูนย์ทรัพยากรคอมพิวเตอร์เพื่อการคำนวณขั้นสูงมุ่งเน้นการให้
บริการระบบคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง
(High Performance Computing: HPC) แก่
งานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์เพื่อการคำนวณ
(Computational Science)
ที่อยู่: ทีม ThaiSC, ห้อง INC2A 301
144 อาคารกลุ่มนวัตกรรม 2 (INC2)
อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง
อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
12120
โทร: 0-2564-6900
อีเมล์: thaisc@nstda.or.th